จีโนมของ ฟาจแลมบ์ดา เป็นดีเอ็นเอเกลียวคู่มีขนาดประมาณ 50 kb โดยมีตำแหน่งที่สำคัญ คือ
- Left arm มีขนาดประมาณ 8-10 kb เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง phage progeny
- Right arm มีขนาดประมาณ 8-10 kb เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยยีนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพแบบ Lytic parthway
หมายเหตุ บริเวณส่วนปลายของ Left arm และ Right arm จะมีส่วนของ cos site ที่มีปลาย 5’ overhanging ประมาณ 12 bp
- Central stuffer มีขนาดประมาณ 14 kb มียีนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตแบบ lytic pathway และ lysogenic pathway
- Lytic pathway คือฟาจหลังจากบุกรุกเซลล์เจ้าบ้านแล้ว จะเริ่มกระบวนการเปิด-ปิด การทำงานของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำลายเซลล์เจ้าบ้านหรือแบคทีเรีย
- ยีน N และ Cro เปิดการทำงานโดย N ทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งการทำงานของ rho protein
- ผลผลิตจากยีน Q จะควบคุมการทำงานของยีนกลุ่มที่เกี่ยงข้องกับการสั่งเคราะห์ ส่วนหัวและส่วนหางของฟาจ
- เกิดกระบวนการ DNA replication 2 แบบ โดยช่วงแรกของการบุกรุกจะมีการจำลองดีเอ็นเอแบบ Theta model หลังจากนั้นเป็นแบบ Sigma model ซึ่งโมเลกุลของดีเอ็นเอที่ได้จากการจำลองนั้นจะต่อสกันเป็นสายยาว โดยหนึ่งสายจะประกอบด้วยดีเอ็นเอหลายโมเลกุลที่เรียกว่า Contamer หรือ catenated DNA
- Contamer จะถูกตัดที่ตำแหน่ง cos site แล้วบรรจุเข้าไปทางส่วนหางของฟาจที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ทำให้เซลล์เจ้าบ้านแตกแล้วปล่อย phage assembly ออกมามากมาย
- Lysogenic pathway หลังจากที่ถูกฟาจบุกรุกเซลล์เจ้าบ้าน ดีเอ็นเอของฟาจจะเข้าไปรวมอยู่กับดีเอ็นเอของเซลล์เจ้าบ้านดังขั้นตอนต่อไปนี้
- มีการแสดงออกของยีน cI เพื่อทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของยีนในกลุ่ม Lytic gene
- มีการแสดงออกของยีน int(intergrase) เพื่อทำหน้าที่ให้ดีเอ็นเอของฟาจรวมกับดีเอ็นเอของแบคทีเรีย โดยดีเอ็นเอของฟาจมีตำแหน่ง att (attachment site) ที่เป็นตำแหน่งจดจำและเข้าเกาะกับตำแหน่งจำเพาะของดีเอ็นเอของแบคทีเรีย
- Lytic pathway คือฟาจหลังจากบุกรุกเซลล์เจ้าบ้านแล้ว จะเริ่มกระบวนการเปิด-ปิด การทำงานของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำลายเซลล์เจ้าบ้านหรือแบคทีเรีย
คุณสมบัติของฟาจแลมบ์ดาที่ใช้เป็นเวคเตอร์ มีดังนี้
- บริเวณ cental stuffer จะถูกตัดออกไปเหลือไว้เพียงบริเวณ left arm และ right arm
หมายเหตุ บริเวณ Central stuffer ไม่มียีนจำเป็นสำหรับการโคลนยีน แต่ถ้าส่วนนี้หายไปจะทำให้ฟาจสูญเสียการบุกรุกเซลล์เจ้าบ้าน
- มีตำแหน่งจุดตัดของเอ็นไซม์ตัดจำเพาะอยู่ระหว่าง left arm กับ central stuffer และ right arm กับ central stuffer ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะใส่ชิ้นดีเอ็นเอที่ต้องการลงไป
- มียีนเครื่องหมายเพื่อใช้ในการคัดเลือดและการตรวจสอบดีเอ็นเอสายผสมที่ต้องการ
A fascinating discussion is worth comment. I do think that you ought to publish more about this issue, it may not be a taboo matter but typically folks dont speak about such topics. To the next! Cheers!!