การเลือกใช้พาหะ(Vector)และการทำ Gene cloning

พาหะ( vector ) คือ cloning vector ดีเอ็นเอที่ใช้ในการเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอที่ต้องการให้ได้ปริมาณมากๆ โดยนำชิ้นดีเอ็นเอที่ต้องการดังกล่าวมาเชื่อมต่อเข้าไปกับ DNA cloning vector ได้ดีเอ็นเอสายผสม(Recombinant DNA;rDNA) จากนั้นจึงนำ Rdna ถ่ายเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้าน(Host cell)โดยวิธีการ Transformation เพื่อเพิ่มปริมษรดีเอ็นเอที่ต้องการ แล้วทำการคัดเลือกเซลล์ที่ต้องการต่อไป

                ปัจจุบันเวคเตอร์ต่างๆ มากมายที่ใช้สำหรับ Gene cloning ซึ่งการเลือกใช้เวคเตอร์นั้นขึ้นอยู๋กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่นถ้าต้องการโคลนยีนในแบคทีเรีย อาจเลือกใช้เวคเตอร์ที่เป็นพลาสมิด(Plasmid) ฟาจ(Phage) และ คอสมิด(Cosmid) หรือถ้าต้องการโคลนยีนในเซลล์สัตว์อาจใช้เวคเตอร์ที่เป็นไวรัส SV40 ขณะที่ในเซลล์พืชไวรัสพวกนี้ Cauliflower mosaic virus (CMV) และ Ti plasmid อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาเวคเตอร์ที่สามารถจำลองตัวเองได้ในเซลล์เจ้าบ้านมากกว่า 1 ชนิดที่เรียกว่า Shuttle vector เช่น ใน E.coli และ Yeast เป็นต้น

                พลาสมิด(Plasmid)

เป็น cloning vector ที่ใช้สำหรับใน E.coli ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้

  1. มีการจำลองตัวแบบ relaxed vector
  2. มีจุด ori
  3. มียีนเครื่องหมาย(Marker gene) ที่สามารถตรวจสอบได้(บางครั้งอาจจะมี Reporter gene ด้วย)โดยพิจารณาจากกิจกรรมของยีนที่เรียกว่า Insertional inactivation
  4. มีตำแหน่งจดจำหรือตำแหน่งที่ตัดได้ของเอนไซม์ตัดจำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงหนึ่งตำแหน่ง(Unique site)

Insertional inactivation ถ้าใช้ชิ้นส่วนของดีเอ็นเอที่ต้องการ ที่ตำแหน่ง Pst I พบว่า

  1. ถ้าพลาสมิดไม่ได้รับชิ้นส่วนดีเอ็ฯเอแทรกอยู่ จะต้านทานต่อแอมพลิซิลิน และเตตระไซคลิน
  2. ถ้าพลาสมิดไม่ได้รับชิ้นส่วนดีเอ็นเอแทรกอยู่ จะต้านทานต่อเตตระไซคลิน แต่ไม่ต้านทานต่อแอมพิซิลิน

1 thoughts on “การเลือกใช้พาหะ(Vector)และการทำ Gene cloning

  1. נערת ליווי says:

    A fascinating discussion is worth comment. I do think that you ought to publish more about this issue, it may not be a taboo matter but typically folks dont speak about such topics. To the next! Cheers!!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *