อะกาโรสเจลอีเล็กโทรโฟรีซิส

อะกาโรสเจลอีเล็กโทรโฟรีซิส คือ วิธีมาตรฐานทางด้านพันธุวิศวกรรม มีหลายขั้นตอนที่ต้องศึกษาและวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบว่าการสกัดดีเอ็นเอจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ดีเอ็นเอหรือไม่ หรือการตรวจสอบว่าการตัดดีเอ็นเอด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะดีเอ็นเอถูกตัดได้ถูกต้องหรือไม่ เป็นต้น วิธีมาตรฐานที่ได้รับความนิยมสำหรับใช้ศึกษาและวิเคราะห์ดีเอ็นเอ คือ อะกาโรสเจลอิเล็กโทรโฟรีซิส (agarose gel electrophoresis) ทั้งนี้เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น นำไปใช้ตรวจสอบว่าในสารละลายดีเอ็นเอมีดีเอ็นเอหรือไม่ หรือนำไปใช้แยกดีเอ็นเอที่สนใจออกจากดีเอ็นเออื่นๆที่อยู่ผสมกันในสารละลายดีเอ็นเอ หรือใช้ในการคาดคะเนขนาดของดีเอ็นเอ

                หลักการของอะกาโรสเจลอิเล็กโทรโฟรีซิส คือ เป็นการแยกดีเอ็นเอตามขนาด(size) หรือน้ำหนักโมเลกุล(molecular weight) โดยให้ดีเอ็นเอเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง ซึ่งก็คือ อะกาโรสเจล ที่อยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว คือขั้วบวก(anode) และขั้วลบ(cathode) ด้วยคุณสมบัติของดีเอ็นเอที่มีคุณสมบัติเป็นลบ ทำให้ดีเอ็นเอเคลื่อนที่จากขั้วลบไปยังขั้วบวก และด้วยคุณสมบัติของแผ่นอะกาโรสเจลที่ภายในมีรูพรุนขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ดีเอ็นเอขนาดเล็ก(หรือมีน้ำหนักโมเลกุลน้อย) เคลื่อนที่ผ่านแผ่นอะกาโรสเจลได้เร็วกว่าดีเอ็นเอขนาดใหญ่(หรือมีน้ำหนักโมเลกุลมาก)

                ซึ่งจะกล่าวถึงวัสดุอุปกรณ์ที่สำหรับในการทำอะกาโรสเจลอิแล็กโทรโฟริซิสและปัจจัยต่างๆที่สำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของดีเอ็นเอในอะกาโรสเจล ซึ่ง วัสดุและอุปกรณ์สำหรับอะกาโรสเจลอิเล็กโทรโฟรีซิสประกอบด้วย

  1. ชุดอุปกรณ์อะกาโรสเจลอิเล็กโทรโฟรีซิส(agarose gel electrophoresis apparatus)
  2.  เครื่องจ่ายไฟฟ้า(power supply)
  3. อะกาโรส(agarose) บัฟเฟอร์(buffer)
  4. สีหยอดดีเอ็นเอ(DNA loading dye)

One thought on “อะกาโรสเจลอีเล็กโทรโฟรีซิส

  1. נערת ליווי says:

    A fascinating discussion is worth comment. I do think that you ought to publish more about this issue, it may not be a taboo matter but typically folks dont speak about such topics. To the next! Cheers!!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *