การเตรียมชิ้นส่วน cDNA หรือ complementary DNA
คือการเตรียมชิ้นดีเอ็นเอที่ต้องการจาก mRNA โดยใช้ reverse transcriptase ซึ่งเป็นผลผลิตของยีนที่มีการแสดงออกเฉพาะบางเซลล์หรือบางเนื้อเยื่อในช่วงเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น โดย mRNA นั้นจะมีแค่ส่วนของ exon(single copy DNA) เท่านั้นจึงสามารถถ่ายเข้าไปใน plasmid ของ Prokaryote เพื่อประโยชน์ในการ cloning ได้และเพื่อการศึกษา Gene expression ได้
หลักการสกัดอาร์เอ็นเอ
- ทำให้เซลล์แตกและตกตะกอนโปรตีนโดย detergent และ phenol/chloroform ตามลำดับ
- ตกตะกอนแยกอาร์เอ็นเอออกจากดีเอ็นเอ โดยใช้ LiCl
หมายเหตุ ในการสกัดดีเอ็นเอควรเติม DEPC(diethyl pyro carbonate)เพื่อยับยั้งการทำงานของ Rnase
หรืออาจเตรียมอาร์เอ็นเอบริสุทธิ์โดยใช้ oligo-T matrix หรือชุดสำเร็จรูป
การตรวจสอบคุณภาพของอาร์เอ็นเอ
คล้ายกับดีเอ็นเอ โดยถ้า A260 /A280 อยู่ในช่วง 1.7-2.0 แสดงว่าอาร์เอ็นเอที่สกัดได้บริสุทธิ์หรือมีคุณภาพดี
การสั่งเคราะห์ cDNA อาจจะทำได้หลายวิธี อาทิ
- การเตรียม cDNA(complementary DNA) โดยใช้ primer ที่เป็น Oligo dT ใช้ S1 nuclease หลักการคือ
- สกัด eukaryotic mRNA ซึ่งมี poly A tail ที่ปลาย 3’ ได้แล้ว
- เริ่มทำการสังเคราะห์ cDNA โดยใช้ดีเอ็นเอไพรเมอร์ที่เป็น oligo Dt (หมายถึงมีเบส T หลายๆเบสต่อกัน)โดยไพร์เมอร์จะเข้าไปเกาะที่ปลาย 3’ mRNA แล้วใช้ mRNA เป็นแม่แบบเพื่อเริ่มทำการสังเคราะห์สายดีเอ็นเอ single strand DNA(ssDNA) ในทิศทาง 5’-à3’ โดยการทำงานของ reverse transcriptase จากไวรัส
- เมื่อทำการสังเคราะห์ ss cDNA มาถึงปลาย 5’ mRNA template พบว่า reverse transcriptase ยังคงสังเคราะห์สายดีเอ็ฯเอที่ปลาย 3’ ยาวออกไปอีหลายเบส(ซึ่งเบสส่วนปลายที่เกินมานี้จะเกิดโครงสร้างเป็นตะขอ( loop หรือ hook)
- ย่อย mRNA template ด้วยด่าง(NaOH)
- ใช้ DNA polymerase I ทำหน้าที่สังเคราะห์สาย cDNA อีก 1 สายขึ้นมาในทิศทาง 5’-à3’ โดยใช้ cDNA อีก 1 สายขึ้นมาในทิศทาง 5’-à3’ โดยใช้ ss cDNA ที่สังเคราะห์ไว้แล้วเป็นแม่แบบที่มีบริเวณปลาย 3’ มีโครงสร้างคล้ายตะขอซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนไพรเมอร์ สุดท้ายได้ดีเอ็นเอสายคู่(ds cDNA)
- ทำการตัดดีเอ็นเอสายเดียว(บริเวณตะขอ) โดยใช้ S1 nuclease
A fascinating discussion is worth comment. I do think that you ought to publish more about this issue, it may not be a taboo matter but typically folks dont speak about such topics. To the next! Cheers!!